วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

ครูสอนเคมีไอเดียเจ๋ง แต่งเพลง คุกกี้อุตสาหกรรม เต้นสอนจำง่าย-นร.ชอบใจ

                                                         ที่มา: คุกกี้อุตสาหกรรม                                
ที่ไหนก็ฮิต! ครูสอนเคมี ไอเดียแจ่ม แต่งเพลง คุกกี้อุตสาหกรรม ทำนองเพลงดัง คุ๊กกี้เสี่ยงทาย สอนนักเรียนท่องจำง่าย แถมเต้นไปด้วยชนอมยิ้มตาม
เรียกได้ว่าเป็นเพลงสุดฮิตที่ร้องได้ทั่วบ้านทั่วเมืองขณะนี้ สำหรับเพลง คุกกี้เสี่ยงทาย (Koisuru Fortune Cookie) ของสาวๆวง BNK48 ด้วยเนื้อเพลงจำง่ายติดหูพร้อมทั้งท่าเต้นน่ารักๆ จนเกิดกระแสเต้นตามกันไปทั่วโซเชียล
ล่าสุดผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก Kittithat Suea-ngam ซึ่งเป็นคุณครูสอนวิชาเคมี ได้โพสต์คลิป ขณะที่ทำการสอนนักเรียน ด้วยการใช้วิธีสอนท่องจำเป็นเพลงดังอย่าง คุ๊กกี้เสี่ยงทาย ที่ได้นำมาปรับใหม่ให้เข้ากับเนื้อหาการเสี่ยง ในเพลง "คุกกี้อุตสาหกรรม"
โดยคุณครูท่านนี้ ได้นำเพลงคุกกี้เสี่ยงทาย ที่มีทำนองติดหู มาปรับใส่เนื้อหาโดยเอาสูตรต่างๆ เกี่ยวกับ การผลิตเซรามิกซ์ แล้วก็การผลิต NaCl หรือว่าเกลือที่เรารู้จักกัน หรือบางสารที่มีชื่อเรียกยากๆมาใส่ลงในเพลง เพื่อให้นักเรียนที่เรียนอยู่นั้น สามารถจำได้อย่างง่ายขึ้น อีกทั้งยังเต้นประกอบ ทำเอาเหล่านักเรียนครื้นเครงในการเรียนและชวนท่องจำไปในคราวเดียวกันก็ว่าได้
ทั้งนี้ชาวเน็ตเมื่อได้ชม ก็ต่างพากันกดไลค์และชื่นชมคุณครูเป็นจำนวนมาก โดยเสียงส่วนใหญ่ชื่นชมในไอเดียการสอน ว่าเป็นวิธีที่จำง่าย และดีมากๆ ที่ทำให้การเรียนวิชาการไม่น่าเบื่อนั่นเอง

ทีมวิจัยพบนวัตกรรม ‘แท่งนาโน’ ดูดซับน้ำจากอากาศได้

                                                    ที่มา:แท่งนาโน
ทีมวิจัยพัฒนา ‘Nanorods’ ได้อย่างบังเอิญในห้องทดลอง มันคือ ก้านคาร์บอนขนาดเล็กจิ๋ว ที่สามารถสกัดและคายน้ำจากอากาศได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมอันแห้งแล้งก็ตาม ซึ่งเป็นไปได้ว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำไปปรับปรุงเป็น ‘เครื่องกรองน้ำจากอากาศ’ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ใช้พลังงานนิดเดียว หรือนำไปผลิตเป็นเส้นใยสำหรับสวมใส่ เพื่อการดูดซับเหงื่อจากร่างกายดีกว่าเส้นใยใดๆในโลก
David Lao จาก Pacific Northwest National Laboratory (PNNL) และทีมงานบังเอิญค้นพบ ‘Nanorods’ ในขณะกำลังพัฒนาเส้นใยแม่เหล็กนาโน (Magnetic Nanowires) แต่กลายเป็นว่าเส้นใยที่พวกเขาทำ กลับมีน้ำหนักมากขึ้นตามความชื้นในห้องอย่างมีนัยยะ จนตอนแรกพวกเขาคิดว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น 
“เจ๊งบ๊ง” ไปแล้ว
แต่เมื่อส่องดูในกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่าเส้นใย Nanorods โอบอุ้มน้ำในห้องไว้ โดยน้ำจะยึดปลายเส้นใยไว้ด้วยกัน แต่เมื่อปลายเส้นใยห่างกันเกิน 1.5 นาโนเมตร น้ำก็คายออก!
ความฟลุคสุดกู่ ทำให้วงการเทคโนโลยีนาโนกลับมาคึกคัก และมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต พวกเราจะสามารถผลิตน้ำไว้ใช้เองจากการควบแน่นหยดน้ำในอากาศ แม้จะอยู่กลางทะเลทรายอันร้อนระอุ พวกเราก็ไม่มีทางขาดน้ำตายอย่างแน่นอน

ประกาศเขตภัยพิบัติ! สารเคมีรั่ว8,000คนหนีตายอลหม่าน

                                                            ที่มา:สารเคมี
เกิดเหตุสารเคมีรั่วในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยต้นเหตุเกิดจากระเบิดที่ถังบรรจุสารเคมีหลังอาคารโรงงานฝั่งทิศตะวันตกของโรงงานผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยส่งต่างประเทศรายใหญ่ของบริษัทแมรี่กอทจิวเวลรี่(ประเทศไทย)จำกัดและพบว่าสารเคมีอันตรายที่บรรจุอยู่ภายในได้รั่วไหลออกมาอย่างรุนแรงทำให้คนงานกว่า 8,000 คนที่กำลังทำงานอยู่ต้องวิ่งหนีตายเอาชีวิตรอด  เบื้องต้นพบว่าคนงานกว่า 300 คนส่วนใหญ่เป็นสาวโรงงานที่สูดดมสารเคมีดังกล่าวเข้าไปได้รับบาดเจ็บจนต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลหลายแห่ง ทั้งหมดมีอาการคล้ายกันคือ ช็อค หมดสติ ร่างกายเกร็งและกระตุก บางรายไม่รู้สึกตัว ขณะที่บางรายมีอาหารหายใจไม่ออก ปวดตามเนื้อตัวอย่างรุนแรง ทางแพทย์ได้เร่งให้การรักษาอย่างเร่งด่วนแต่ก็เต็มไปด้วยความสับสนเพราะคนไข้แต่ละคนอาการหนักและมีคนไข้จำนวนมากอย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด    ล่าสุดได้ประกาศเขตโรงงานดังกล่าวเป็นเขตอันตรายและให้หยุดกิจการทันทีจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายหรือมีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว  

มาเลเซียเร่งตามหาถังกัมมันตรังสี สูญหายระหว่างขนส่ง


                                                               ที่มา:กัมมันตรังสี
วันที่ 21 ส.ค.61 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม บรรจุภัณฑ์ใส่สารกัมมันตรังสี รูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ หนัก 23 กิโลกรัมสูญหายไป จากท้ายรถกระบะคันหนึ่งระหว่างการขนส่ง จากเมืองเซเร็มบัน ไปยัง เมืองชาห์ อาลาม เมืองเอกของรัฐสลังงอร์ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 60 กม. ส่งผลให้ทางการมาเลเซียกำลังเร่งติดตามหาบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากหวั่นเกรงว่าสารกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในอาจแพร่กระจายจนก่อให้เกิดอันตรายได้
ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์สารกัมมันตรังสีที่สูญหายไปนั้นคือสาร‘อิริเดียม’ไม่ทราบปริมาณ อาจฟุ้งกระจายสู่อากาศ หรือตกอยู่ในมือกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งสารดังกล่าว สามารถนำไปผลิตระเบิดนิวเคลียร์อย่างหยาบ ที่เรียกกันว่า ‘dirty bomb’ ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากบรรจุภัณฑ์สารกัมมันตรังสีดังกล่าว ได้สูญหายไปอย่างเป็นปริศนา พนักงานสองคนของบริษัทได้ถูกจับกุม ก่อนจะถูกปล่อยตัวในเวลาต่อมา เพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอในที่จะชี้ว่าพนักงานทั้งสองเกี่ยวข้องกับการสูญหายของบรรจุภัณฑ์อันตรายนี้

นักวิจัยฝังก๊าซ CO2 ไว้ใต้พื้นโลกถาวรสำเร็จแล้ว ด้วยการทำให้กลายเป็นหินแข็ง


                                                     ที่มา:ก๊าซ CO2
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ถูกปล่อยเข้าสู่บรรยากาศของโลกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกอย่างมาก ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์พยายามคิดค้นหาวิธีลดปริมาณก๊าซ CO2 ในบรรยากาศทุกวิถีทาง ทั้งเรื่องการใช้พลังงานสะอาด การเปลี่ยนก๊าซ COให้เป็นเชื้อเพลิงรูปแบบต่างๆ และตอนนี้ทีมนักวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนก๊าซ COให้กลายเป็นหินแข็ง เป็นการเพิ่มช่องทางใหม่ในการกำจัดก๊าซ COออกไปจากบรรยากาศของโลก   นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในโครงการ Wallula Basalt Pilot Project ที่รัฐวอชิงตัน ได้เปลี่ยนก๊าซ CO2 ให้กลายเป็นหินแข็งด้วยการฉีดก๊าซ COลงไปในชั้นหินบะซอลต์ ภายในเวลา 2 ปี COได้กลายเป็นแร่ธาตุที่เรียกว่า แองเคอไรต์ (Ankerite)
“งานวิจัยนี้ได้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าหินบะซอลต์ซึ่งเป็นหนึ่งในหินสำคัญบนโลกของเรา สามารถใช้เป็นที่เก็บ COได้อย่างถาวรและปลอดภัย” Pete McGrail หัวหน้านักวิจัยกล่าว   การจับคาร์บอนและเก็บมันเอาไว้ใต้พื้นโลกอาจจะเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้โลกร้อนขึ้นไปมากกว่าเดิมถึง 2 องศาเซลเซียส (ซึ่งเป็นจุดที่อันตรายมาก) โดยการจับมลพิษที่ปล่อยออกมาจากแหล่ง หรือดึงก๊าซ COออกมาจากบรรยากาศโดยตรงก็ได้  แต่นักวิทยาศาสตร์ยังมีความกังวลว่าคาร์บอนที่เก็บไว้ใต้ดินในรูปของเหลวหรือก๊าซอาจจะไม่ปลอดภัย เพราะ COที่เก็บไว้อาจจะหลุดรั่วออกสู่บรรยากาศผ่านทางรอยแตกของผิวโลกได้ หรือเสี่ยงกับการเผชิญกับการก่อการร้าย ซึ่งอาจนำไปสู่หายนะของสภาพอากาศได้  เพื่อแก้ปัญหานี้นักวิจัยจึงได้หาวิธีที่จะเก็บ COไว้ใต้ดินในรูปของแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นหินบะซอลต์
บะซอลต์เป็นหินภูเขาไฟที่เป็นส่วนประกอบหลักในสัดส่วนราว 70% ของผิวโลก เมื่อเจอกับ COและน้ำจะเกิดปฏิกิริยาเคมี เปลี่ยน COไปเป็นวัสดุแข็งลักษณะคล้ายกับชอล์ก เดิมนักวิทยาศาสตร์คิดว่าอาจต้องใช้เวลาเป็นพันปีสำหรับเกิดปฏิกิริยานี้ แต่ในงานวิจัยใหม่นี้ได้แสดงให้เห็นว่ามันเกิดขึ้นในเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น
“หินซอลต์เป็นที่กักเก็บ COที่วิเศษมาก เนื่องจากก๊าซ COถูกเปลี่ยนเป็นสารคาร์บอเนตซึ่งจะไม่มีวันหลุดลอดออกไปสู่บรรยากาศได้เลย” McGrail กล่าว

หินคาร์บอนไดออกไซด์' แก้ปัญหาโลกร้อนในไอซ์แลนด์

                                             ที่มา:หินคาร์บอนไดออกไซด์
หลายประเทศพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้านหนึ่งคือนักวิทยาศาสตร์ต้องตามเกมให้ทันเพื่อลดการปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
ตอนนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จากไอซ์แลนด์คิดค้นวิธีทำให้ก๊าซชนิดนี้กลายเป็นหินที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสภาพอากาศโลก       
10 ปีก่อน Reykjavik Energy กิจการสาธารณูปโภคด้านพลังงานของประเทศไอซ์แลนด์ เริ่มต้นโครงการ CarbFix เพื่อทดสอบว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นผลจากการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพออกมาใช้นั้นจะสามารถถูกกักเก็บคืนไว้ใต้ดินอย่างถาวรได้อีกหรือไม่  เอ็ดด้า อาราด็อนเทอร์​ ผู้จัดการโครงการ ระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์เลียนแบบการกักเก็บก๊าซนี้ตามธรรมชาติ เหมือนการทับถมของฟอสซิลทั่วไป เพียงแต่เร่งเวลาให้กระบวนการเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม CarbFix เริ่มการทดสอบนี้ที่โรงไฟฟ้า Hellsheidi ที่ตั้งอยู่บนภูเขาไฟดับสนิท ซึ่งยังมีพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ถือเป็นพลังงานไม่มีต้นทุนและยั่งยืนแหล่งหนึ่งของไอซ์แลนด์ แต่แหล่งพลังงานนี้ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลเช่นกัน
วิธีของCarbFixจะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่จะถูกปล่อยสู่ชั้บรรยากาศไปผสมกับน้ำและฉีดกลับไปใต้ดินในชั้นหินบะซอลต์หรือหินภูเขาไฟที่ความลึกราว1-2กิโลเมตร และก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกฉีดกลับไปนั้นจะกลายเป็นหินในอีก 1-2 ปีต่อจากนั้น และอยู่ในชั้นหินดังกล่าวไปอีกหลายล้านปี   
ฟินน์โบกีออสการ์สันผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานสำรวจทางธรณีวิทยาไอซ์แลนด์ระบุว่าปัจจุบันกระบวนการดังกล่าวยังใช้ต้นทุนมหาศาลในการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นหินใต้ภูเขาไฟและหากค้นพบวิธีที่ต้นทุนต่ำกว่า ก็อาจเลือกใช้พื้นทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หรือจะเป็นอินเดียหรือพื้นมหาสมุทรในอเมริกาใต้ เป็นที่กักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากมีลักษณะชั้นหินบะซอลต์ที่คล้ายกัน ข้อมูลเฉพาะปี 2557 ระบุว่า มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศอย่างน้อย 3 หมื่นล้านตันภายในปีเดียว ขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เพียง 27 ล้านตันเท่านั้นที่ถูกกักเก็บไม่ให้ไปสู่ชั้นบรรยากาศโลก
การทดลองนี้จึงถือเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆที่ยังรอเทคโนโลยีใหม่ที่ราคาไม่แพงเพื่อเข้ามาแก้ไขในอนาคต

ชาวบ้านร้อง กลิ่นสารเคมีลอยทั่วหมู่บ้าน จนท.พบขยะพิษกว่า 1,000 ตัน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมกับ พ.ต.อ.อภิชาต พุทธบุญ ผู้กำกับการ สภ.เมืองราชบุรี และ นายจำนง จันทรวงศ์ ปลัดอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี เข้าตรวจสอบบริษัท มิราเคิล เลเธอร์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ 9 ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า โรงงานของบริษัทดังกล่าว ได้มีกลิ่นโชยออกมาจากโรงงานเหม็นไปทั่วบริเวณ อีกทั้งยังมีแรงงานต่างด้าวมาทำงานอยู่ด้วย    จากการตรวจสอบ พบแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก กำลังทำงานอยู่ภายในโรงงาน จึงได้เข้าควบคุมตัวไว้ แต่มีบางส่วนหลบหนีไปได้ โดยสามารถควบคุมตัวมาสอบสวน จำนวน 43 คน แบ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมา จำนวน 32 คน โดยทั้งหมดไม่มีบัตรมาแสดงตัวตน อ้างว่าบัตรอยู่ที่นายจ้าง และยังพบแรงงานชาวจีนอีก 11 คน ซึ่งทั้งหมดอ้างว่ามีบัตรพาสปอร์ต เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาดูกระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อจะนำไปปรับใช้กับระบบอุตสาหกรรมในประเทศของตนเอง เจ้าหน้าที่จึงนำตัวแรงงานทั้งหมดตรวจสอบว่า มีการเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  นอกจากนี้ ยังพบว่าภายในโรงงานมีเครื่องจักรกล มีสายพานลำเลียงขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิล ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พลาสติก และแผงไฟ ที่มีการคัดแยกแล้วบางส่วน และอยู่ระหว่างการเตรียมคัดแยกที่กองไว้และที่บรรจุในถุงรวมแล้วมากกว่าหนึ่งพันตัน โดยบางส่วนถูกนำมาบดอัด และทำเป็นเม็ดพลาสติก    โดย นายอารยะ เนตรวงษ์ หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี เผยว่า เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้เข้ามาทำการตรวจสอบที่โรงงานแห่งนี้แล้ว ซึ่งเดิมเคยมีการขออนุญาตประกอบกิจการฟอกหนัง ทำหนังเทียม และมีการคัดแยกขยะ แต่ตรวจสอบก็พบว่ามีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทำการรีไซเคิล ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน ซึ่งประกอบกิจการผิดประเภท และจะต้องทำการตรวจสอบเรื่องของการนำเข้ามาว่าถูกต้องหรือไม่ และมีจำนวนเท่าไหร่
 ล่าสุด ได้มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการไปแล้ว แต่มาวันนี้พบว่ายังมีการทำงานอยู่ ก็จะต้องดำเนินคดีต่อไปอีก เพราะฝ่าฝืนคำสั่ง ส่วนขยะพลาสติกที่พบนั้น กำลังให้ทางเจ้าของโรงงานนำเอกสารมาแสดง เบื้องต้น ยังไม่พบใบอนุญาตในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามา และประกอบกิจการในส่วนของการบดอัดเม็ดพลาสติกโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงจะต้องแจ้งดำเนินคดีเพิ่มอีก

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ

                                               ที่มา:ลิปสติก
 ยิ่งสีสด ติดทนนาน ยิ่งเสี่ยงอันตราย!                                                                                      ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และ สารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น                                          เมธอะคริเลท ส่วนผสมต้องห้ามในลิปสติก                                                                   
  เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้     ทางที่ดีสาวๆ ควรหลีกเลี่ยงการทาลิปสติกสีเข้ม และหันมาทาลิปมันที่ช่วยบำรุงริมฝีปากให้ชุ่มชื่นเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงจากสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนมาพร้อมกับเม็ดสี หรืออาจจะเลือกเป็นลิปสติกสีอ่อนที่มีคุณภาพมาใช้ทดแทน เพียงเท่านี้ก็ทำให้เรียวปากของสาวๆ ดูสวยอวบอิ่มได้ไม่แพ้กันอย่างแน่นอนค่ะ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”

                                                       ที่มา:โรงไฟฟ้า
   การไฟฟ้าแม่เมาะแจงเหตุสารเคมีรั่วไหล คือ กรดไฮโดรคลอริก  เมื่อถูกน้ำจะเกิดเป็นไอมีกลิ่นฉุน ตามมาตรการด้านความปลอดภัย จึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้แจงถึงกรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม มีกระแสข่าวว่า เกิดเหตุสารไซยาไนด์รั่วภายในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 4-7 และมีการอพยพคนงานออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยกฟผ. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สารเคมีดังกล่าวไม่ใช่สารไซยาไนด์ ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้ามีการรั่วซึม ได้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยเร่งด่วนจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อย เจ้าหน้าที่และคนงานกลับเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์  โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMRP1) พบเหตุ “กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ” รั่วไหลในปริมาณเล็กน้อยระหว่างการทดสอบระบบ จึงได้ให้คนงานที่อยู่ในรัศมี 10 เมตร ออกไปอยู่ที่จุดรวมพล เพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 1   กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ เป็นสารเคมีที่มีไว้ใช้สำหรับปรับสภาพน้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพก่อนน้ำไปใช้ในระบบ
ความคิดเห็น:ทำให้เรารู้ว่าถึงเหตุการณ์ที่สารเคมีรั่วว่าเกิดจากอะไร

4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

                                                      ที่มา:โรคผิวหนัง

อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี

อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
  1. คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์
  2. คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
  3. คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
  4. เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช

วิธีป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี

ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวข้างต้นควรดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรระวังเป็นพิเศษ โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เช่น สวมถุงมือที่ทำจากวัสดุพีวีซีหรือยาง ใช้ผ้ากันเปื้อน หรือสวมชุดป้องกัน เป็นต้นโดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หากมีอาการแพ้หรือมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา  หรือถ้าหากมีการระคายเคืองหรือผดผื่นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากกรณีที่ผิวหนังแห้ง แตก เป็นแผล หากติดเชื้อจะทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ลุกลามมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปฏิรูปการศึกษา กับตารางธาตุรูปแบบใหม่ ที่บอกหมดว่าธาตุไหนใช้ทำอะไร

                                                     ที่มา :ตารางธาตุ
    นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่อง "ปฏิรูปการศึกษา" กับการเปลี่ยนตารางธาตุแบบเดิมๆ ที่นักเรียนต้องท่องจำกันจนเบื่อ มาเป็นตารางธาตุแบบ Interactive ที่สามารถบอกได้หมด ว่าธาตุตัวไหนเป็นส่วนประกอบของอะไร หรือนำมาใช้ผลิตเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่งเป็นตารางธาตุโฉมใหม่ที่ดูมีสีสัน น่าสนุก และทำให้เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าตารางธาตุแบบเดิมๆ อย่างมากมาย
ซึ่งตารางธาตุแบบInteractiveนี้ เป็นผลงานของเว็บไซต์ elements.wlonk.com มีการแสดงรูปภาพน่ารักๆ กำกับเอาไว้ที่ธาตุแต่ละตัว เพื่อบอกว่าธาตุตัวนั้นใช้ทำอะไรได้ และถ้าต้องการดูรายละเอียดให้ลึกขึ้น ก็สามารถคลิกเมาส์ที่ธาตุตัวนั้นได้เลย คุณครูวิชาเคมีน่าจะเอาตารางธาตุตัวนี้ไปใช้ประโยชน์นะ