ที่มา:หินคาร์บอนไดออกไซด์
หลายประเทศพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้านหนึ่งคือนักวิทยาศาสตร์ต้องตามเกมให้ทันเพื่อลดการปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ตอนนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จากไอซ์แลนด์คิดค้นวิธีทำให้ก๊าซชนิดนี้กลายเป็นหินที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสภาพอากาศโลก
10 ปีก่อน Reykjavik Energy กิจการสาธารณูปโภคด้านพลังงานของประเทศไอซ์แลนด์ เริ่มต้นโครงการ CarbFix เพื่อทดสอบว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นผลจากการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพออกมาใช้นั้นจะสามารถถูกกักเก็บคืนไว้ใต้ดินอย่างถาวรได้อีกหรือไม่ เอ็ดด้า อาราด็อนเทอร์ ผู้จัดการโครงการ ระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์เลียนแบบการกักเก็บก๊าซนี้ตามธรรมชาติ เหมือนการทับถมของฟอสซิลทั่วไป เพียงแต่เร่งเวลาให้กระบวนการเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม CarbFix เริ่มการทดสอบนี้ที่โรงไฟฟ้า Hellsheidi ที่ตั้งอยู่บนภูเขาไฟดับสนิท ซึ่งยังมีพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ถือเป็นพลังงานไม่มีต้นทุนและยั่งยืนแหล่งหนึ่งของไอซ์แลนด์ แต่แหล่งพลังงานนี้ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลเช่นกัน
วิธีของCarbFixจะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่จะถูกปล่อยสู่ชั้บรรยากาศไปผสมกับน้ำและฉีดกลับไปใต้ดินในชั้นหินบะซอลต์หรือหินภูเขาไฟที่ความลึกราว1-2กิโลเมตร และก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกฉีดกลับไปนั้นจะกลายเป็นหินในอีก 1-2 ปีต่อจากนั้น และอยู่ในชั้นหินดังกล่าวไปอีกหลายล้านปี
ฟินน์โบกีออสการ์สันผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานสำรวจทางธรณีวิทยาไอซ์แลนด์ระบุว่าปัจจุบันกระบวนการดังกล่าวยังใช้ต้นทุนมหาศาลในการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นหินใต้ภูเขาไฟและหากค้นพบวิธีที่ต้นทุนต่ำกว่า ก็อาจเลือกใช้พื้นทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หรือจะเป็นอินเดียหรือพื้นมหาสมุทรในอเมริกาใต้ เป็นที่กักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากมีลักษณะชั้นหินบะซอลต์ที่คล้ายกัน ข้อมูลเฉพาะปี 2557 ระบุว่า มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศอย่างน้อย 3 หมื่นล้านตันภายในปีเดียว ขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เพียง 27 ล้านตันเท่านั้นที่ถูกกักเก็บไม่ให้ไปสู่ชั้นบรรยากาศโลก
การทดลองนี้จึงถือเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆที่ยังรอเทคโนโลยีใหม่ที่ราคาไม่แพงเพื่อเข้ามาแก้ไขในอนาคต
ตอนนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จากไอซ์แลนด์คิดค้นวิธีทำให้ก๊าซชนิดนี้กลายเป็นหินที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสภาพอากาศโลก
10 ปีก่อน Reykjavik Energy กิจการสาธารณูปโภคด้านพลังงานของประเทศไอซ์แลนด์ เริ่มต้นโครงการ CarbFix เพื่อทดสอบว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นผลจากการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพออกมาใช้นั้นจะสามารถถูกกักเก็บคืนไว้ใต้ดินอย่างถาวรได้อีกหรือไม่ เอ็ดด้า อาราด็อนเทอร์ ผู้จัดการโครงการ ระบุว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์เลียนแบบการกักเก็บก๊าซนี้ตามธรรมชาติ เหมือนการทับถมของฟอสซิลทั่วไป เพียงแต่เร่งเวลาให้กระบวนการเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม CarbFix เริ่มการทดสอบนี้ที่โรงไฟฟ้า Hellsheidi ที่ตั้งอยู่บนภูเขาไฟดับสนิท ซึ่งยังมีพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ถือเป็นพลังงานไม่มีต้นทุนและยั่งยืนแหล่งหนึ่งของไอซ์แลนด์ แต่แหล่งพลังงานนี้ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลเช่นกัน
วิธีของCarbFixจะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่จะถูกปล่อยสู่ชั้บรรยากาศไปผสมกับน้ำและฉีดกลับไปใต้ดินในชั้นหินบะซอลต์หรือหินภูเขาไฟที่ความลึกราว1-2กิโลเมตร และก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกฉีดกลับไปนั้นจะกลายเป็นหินในอีก 1-2 ปีต่อจากนั้น และอยู่ในชั้นหินดังกล่าวไปอีกหลายล้านปี
ฟินน์โบกีออสการ์สันผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานสำรวจทางธรณีวิทยาไอซ์แลนด์ระบุว่าปัจจุบันกระบวนการดังกล่าวยังใช้ต้นทุนมหาศาลในการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นหินใต้ภูเขาไฟและหากค้นพบวิธีที่ต้นทุนต่ำกว่า ก็อาจเลือกใช้พื้นทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หรือจะเป็นอินเดียหรือพื้นมหาสมุทรในอเมริกาใต้ เป็นที่กักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากมีลักษณะชั้นหินบะซอลต์ที่คล้ายกัน ข้อมูลเฉพาะปี 2557 ระบุว่า มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศอย่างน้อย 3 หมื่นล้านตันภายในปีเดียว ขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เพียง 27 ล้านตันเท่านั้นที่ถูกกักเก็บไม่ให้ไปสู่ชั้นบรรยากาศโลก
การทดลองนี้จึงถือเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆที่ยังรอเทคโนโลยีใหม่ที่ราคาไม่แพงเพื่อเข้ามาแก้ไขในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น